ทิศนา แขมมณี ผู้รวบรวมKlausmeier(1985:105) คลอสเมียร์ กล่าวไว้ว่า กระบวนการประมวลข้อมูลจะเริ่มต้นจากการที่มนุษย์
รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น ซึ่งบันทึก
นี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการคือ การรู้จัก และความเอาใจใส่ ของบุคคลที่รับสิ่งเร้าที่ตนรู้จักหรือมีความสนใจสิ่งเร้านั้นจะได้รับการบันทึกลงในความจำระยะสั้น(short-termmemory) ความจำจะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่แสดงออกมา
ทิศนา แขมมณี ผู้รวบรวม Eggen and Kuachak(1997:260)กล่าวไว้ว่า กระบานการทางสมองในการประมวลข้อมูลเปรียบเทียบได้กับคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมสั่งงาน การบริหารควบคุมการประมวลของสมองก็คือการที่บุคคลรู้ถึงการคิดของตนและสามารถควบคุมได้ลักษณะนี้เรียกว่า การรู้คิด องค์ประกอบสำคัญของการรู้คิดที่ใช้ในการควบคุมกระบวนการประมวลข้อมูลประกอบด้วยแรงจูงใจ ความตั้งใจ และความมุ่งหวังต่างๆ
ทิศนา แขมมณี ผู้รวบรวม Garofalo and Lester(1985:163-176) กล่าวไว้ว่า การตระหนักรู้จะนำไปสู่การคิดหากลวิธีต่างๆที่จะมาช่วยให้ตนจดจำในสิ่งที่เรียนได้ดี เช่น การท่องจำ การจดบันทึก และการใช้เทคนิคช่วยจำอื่นๆ เช่นการจำตัวย่อ การทำรหัส การเชื่อมโยงในสิ่งที่สัมพันธ์กัน ความรู้ในเชิงเมตาคอคนิชันมักจะประกอบไปด้วยความรู้เกี่ยวกับบุคคล งาน และกลวิธี
(www.oknation.net : 26/06/2554) เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด
(images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com : 26/06/2554) ทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์
(www.kroobannok.com/39841 : 26/06/2554)รุ่ง แก้วแดง (2541 : 118)กล่าว ถึง การปฏิวัติการเรียนการสอนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติได้ดำเนิน โครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ซึงมีศาสตราจารย์กิตติคุณสุมน อมรวิวัฒน์เป็นที่ปรึกษาโดยแบ่งเป็น 5 โครงการย่อยซึ่งสอดคล้อง สุมน อมรวิวัฒน์ (2541 : 5) ได้กล่าวถึงแนวคิดใหม่ของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานของกระบวนการเรียนการสอนว่า แก่นแท้ของการเรียนการสอน คือ การเรียนรู้ของผู้เรียนการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกแห่งทุกเวลาต่อเนื่องยาว นานตลอดชีวิต ศรัทธาเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดของการเรียนรู้ผู้เรียน ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีจากการสัมผัสและสัมพันธ์สาระที่สมดุลเกิดขึ้นจากการ เรียนรู้ คือ ความรู้ ความคิด ความสามารถและความดีข้อความข้างต้นคือ ที่มาของทฤษฎีการเรียนรู้ 5 ทฤษฎี ที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้จัดทำขึ้นโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทฤษฎีมาจัดสาระและกระบวนการ เพื่อนำเสนอแก่ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้สอน ทฤษฎีการเรียนรู้
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486) กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory) เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด
เทอดชัย บัวผาย (http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7) กล่าวไว้ว่า เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส (encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด
(http://www.wijai48.com:28/06/54) เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมองทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียนสอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆได้เป็นเวลานานสาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด
บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง52 (http://dontong52.blogspot.com/ ) กล่าวว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล เป็นทฤษฎีที่สนใจเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฎีนี้เริ่มตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1950 จนถึงปัจจุบัน
http://sites.google.com/site/bookeclair/hk (7/7/2554)กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory)ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลผลข้อมูล เป็นทฤษฎีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ เกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฎีเริ่มได้รับความนิยมมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 จนถึงปัจจุบันชื่อในภาษาไทยหลายชื่อ เช่น ทฤษฎีประมวลสารข้อมูลข่าวสาร ทฤษฎีการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศในที่นี้ จะใช้เรียกว่าทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูลทฤษฎีนี้มีแนวคิดว่าการทำงานของสมองมีความคล้ายคลึงกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ คลอเมียร์ (Klausmeier,1985:108) ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมอง ซึ่งมีการทำงานเป็นขั้นตอนดังนี้ คือ1.การรับข้อมูล (Input) โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล2.การเข้ารหัส (Encoding) โดยอาศัยชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์ (Software)3.การส่งข้อมูลออก (Output) โดยผ่านทางอุปกรณ์
http://pirun.ku.ac.th/~g4886063/learningT.htm (7/7/2554)กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory) เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด
หลักการ
1.การทำงานของสมองมนุษย์ มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการทำงาน 3 ขั้นตอนคือ การรับข้อมูล(input) การเข้ารหัส(encoding) และการส่งข้อมูลออก(output)
2.มนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5
3.สิ่งเร้าที่เข้ามาจะถูกบันทึกในความจำระยะสั้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการคือ การรู้จัก(recognition) และ ความใส่ใจ(attention)
4.บุคคลจะเลือกสิ่งเร้าที่ตนรู้จักและมีความสนใจ แล้วบันทึกลงในความจำระยะสั้น (Short-term memory) ซึ่งบุคคลส่วนใหญ่จะจำได้เพียงครั้งละ 7 (+2, -2) อย่างเท่านั้น และต้องใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อช่วยให้เกิดการจำ เช่น การจัดกลุ่มคำ การท่องซ้ำ ๆ
5.ข้อมูลจะได้รับการประมวลและเปลี่ยนรูปโดยการเข้ารหัส (encoding) เพื่อนำไปเก็บไว้ในความจำระยะยาว (long-term memory) ซึ่งอาจต้องใช้เทคนิคต่าง ๆ เข้ามาช่วย เช่น การท้องซ้ำ ๆ การทำให้ข้อมูลมีความหมายกับตนเอง การสร้างความสัมพันธ์สิ่งที่เรียนรู้ใหม่กับความรู้เดิม
6.ความจำระยะยาวมี 2 ชนิดคือ ความจำที่เกี่ยวกับภาษา (semantic) และความจำที่เกี่ยวกับเหตุการณ์(episodic) หรืออาจแบ่งได้เป็น ความจำประเภทกลไกที่เคลื่อนไหว (motoric memory) และ ความจำประเภทอารมณ์ ความรู้สึก (affective memory)
7.การเรียกข้อมูลออกมาใช้ บุคคลจำเป็นต้องถอดรหัสข้อมูล (decoding) จากความจำระยะยาว และส่งต่อไปสู่ตัวก่อพฤติกรรมตอบสนอง
การประยุกต์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1.การรู้จัก (recognition) การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่แล้ว จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น ซึ่งผู้สอนสามารถเชื่อมโยงไปถึงสิ่งใหม่ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น
2.ความใส่ใจ (attention) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อการรับข้อมูลมาไว้ในความจำระยะสั้น จึงควรจัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความสนใจ
3. เนื่องจากข้อมูลที่ผ่านการรับรู้แล้ว จะถูกนำไปเก็บไว้ในความจำระยะสั้น ซึ่งจะคงอยู่เพียง 15-30 วินาที ดังนั้นหากต้องการที่จะจำให้ได้นานกว่านี้ ก็จำเป็นต้องใช้วิธีการต่าง ๆ ช่วย เช่น การท่องซ้ำหลาย ๆ ครั้ง การจัดให้เป็นหมวดหมู่ง่ายแก่การจำ
4.วิธีการที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้ารหัสข้อมูลเพื่อนำไปเก็บในหน่วยความจำระยะยาวสามารถทำได้หลายวิธีคือ การท่องจำซ้ำ ๆ การทบทวน การใช้กระบวนการขยายความคิด การสร้างความสัมพันธ์ความรู้ใหม่กับความรู้เก่า
5.ข้อมูลที่ถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำระยะสั้นหรือระยะยาวแล้ว สามารถเรียกออกมาใช้งานได้โดยผ่าน “effector” ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นพฤติกรรมทางวาจาหรือการกระทำ ซึ่งทำให้บุคคลแสดงความคิดภายในออกมาเป็นพฤติกรรมที่สังเกตได้
สรุป
เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ กระบวนการประมวลข้อมูลจะเริ่มต้นจากการที่มนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น ซึ่งบันทึกนี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการคือ การรู้จัก และความเอาใจใส่ ของบุคคลที่รับสิ่งเร้าที่ตนรู้จักหรือมีความสนใจ สิ่งเร้านั้นจะได้รับการบันทึกลงในความจำระยะสั้น (short-termmemory) ความจำจะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่แสดงออกมา
เอกสารอ้างอิง
ทิศนา แขมมณี.2550.การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการ
เรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศน.หลักสูตรและการสอน.ทฤษฎีการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2554.
การศึกษาการเรียนการสอนโดย ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ.ทฤษฎีการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2554.จาก: http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486
บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง52.จิตวิทยาการศึกษา.สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2554.
Book of YADAWAN. ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน
http://www.oknation.net/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554http://images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554http://www.kroobannok.com/39841 : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://www.wijai48.com เข้าถึงเมื่อ 28/06/54
http://www.pochanukul.com/?p=154 สืบค้นเมื่อ 26/06/2554
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น